สาระน่ารู้

สาระน่ารู้

สัญลักษณ์จีนที่น่ารู้ 中国常见图案 Zhōngguó chángjiàn tú àn

คนจีนเรียกสัญลักษณ์นี้ว่า “ไท่จี๋ถู” 太极图 Tài jí tú เป็นสัญลักษณ์วงกลมครึ่งขาวครึ่งดำและในดำมีขาวในขาวมีดำ บางคนบอกว่าเป็นการรวมกันของปลา 2 ตัว คือ
ปลาหยินและปลาหยาง หรือ ปลาขาวตาดำและปลาดำตาขาว
ส่วนสีดำคือ หยิน หมายถึง เพศหญิง โลก พระจันทร์ ความสวย ความเดียวดาย
ส่วนสีขาวคือ หยาง หมายถึง เพศชาย แสงสว่าง สวรรค์ พระอาทิตย์ พลังอำนาจความแข็งแรงความเป็นคู่

สัญลักษณ์ หยิน-หยาง 阴阳八卦 Yīn yáng bā guà ในขาวมีดำ สะท้อนสัจธรรมที่ชีวิตมีสองด้านเสมอ ในความสมบูรณ์มีความไม่สมบูรณ์ในตัวมันเอง ในความดีมักมีความไม่ดีแฝงเร้นอยู่ เช่นเดียวกันในความไม่สมบูรณ์หรือความเลวใดๆก็ยังมีสิ่งสมบูรณ์หรือความดีแฝงอยู่ ถ้าเราจะรู้จักมองให้เจอ เหมือนในความโชคร้าย เราอาจพบความโชคดีได้เช่นกัน

กินเกี๊ยวในวันตรุษจีน

饺子 jiăozi แปลว่า เกี๊ยว

春节吃饺子 chūn jié chī jiăozi กินเกี๊ยวในวันตรุษจีน

饺子是深受中国汉族人民喜爱的传统特色食品, 也是每年春节必吃的年节食品。

เกี๊ยวเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมของชาวจีนอย่างแพร่หลาย ที่สำคัญเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ในวันตรุษจีน ด้วยเหตุที่ไส้ที่ใส่เข้าไปในเกี๊ยวนั้นมีหลายอย่าง มีวิธีการทำที่หลากหลาย ทั้งทอดและต้ม ทำให้ปัจจุบันเกี๊ยวเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

ในวัฒนธรรมจีนไม่ว่าอาหารจีนที่มีรสชาติอร่อยแค่ไหน ก็ไม่อาจเทียบเท่าได้กับเกี๊ยวที่ชาวจีนรับประทานกันในคืนข้ามปี เพราะคำว่า เกี๊ยว ในภาษาจีน ซึ่งก็คือคำว่า 饺子 jiăozi ไปพ้องเสียงกับคำว่า 交 jiāo (新旧交替) ซึ่งหมายถึงการนำสิ่งเก่ามาแลกสิ่งใหม่ โดยทั้งหมดนี้มีความหมายว่า ปีเก่ากำลังจะผ่านพ้นไปและปีใหม่กำลังจะมาถึงนั่นเอง

นอกจากนี้คำว่า 饺 jiăo จากคำว่า 饺子 ยังไปพ้องเสียงกับคำว่า 交 jiāo (相交团圆) ที่หมายถึงความรักใคร่กลมเกลียว ถ้าหากเราและคนในครอบครัวรับประทานเกี๊ยวครอบครัวของเราก็จะรักใคร่กลมเกลียว และสามัคคีกันนั่นเอง

เกี๊ยวมีลักษณะเหมือนเงินก้อนในสมัยโบราณของคนจีน และการห่อเกี๊ยวก็เปรียบเสมือนการห่อเอาความโชคดีเข้าไว้ และการกินเกี๊ยวก็เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการมีชีวิตที่ร่ำรวย โดยสรุปแล้วการรับประทานเกี๊ยวในวันตรุษจีน ก็คือการก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาปีใหม่ และยังเป็นวิธีการขอพรไปพร้อมๆกัน

เทศกาลสารทจีน 中元节 zhōng yuán jié

เทศกาลสารทจีน ตรงกับเดือน 7 ตามปีปฏิทินทางจันทรคติของจีน สารทจีน 2565 ตรงกับวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยพิธีเซ่นไหว้ ดังนั้นบางครั้งชาวจีนจึงเรียกวันดังกล่าวว่า GuǐJié หรือ Wángrén Jié แปลว่า เทศกาลเซ่นไหว้ผู้ซึ่งล่วงลับไปแล้ว

Guǐ
Wángrén
Jié
หมายถึง
หมายถึง
หมายถึง
ผี ซึ่งเป็นคำเรียกคนที่ถึงแก่กรรมแล้ว
คนที่ตายไปแล้ว
เทศกาล

ประวัติและตำนานวันสารทจีน

กล่าวไว้ว่าวันสารทจีนเป็นวันที่เงี่ยมล้อเทียนจือ(ยมบาล) จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้ายจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ดังนั้นเพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญนี้จึงต้องมีการเปิดประตูนรกนั่นเอง นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวจีนจึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาตลอดด้วยการเซ่นไหว้ โดยจะนำอาหารทั้งคาวหวานและกระดาษเงินกระดาษทองไปวางไว้ที่หน้าบ้านหรือตามทางแยกที่ไม่ไกลนัก มีนัยว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของบรรดาวิญญาณเร่ร่อนที่กำลังจะผ่านมาใกล้ชุดที่ไหว้ การไหว้ในเทศกาลสารทจีนแบ่งออกเป็น 3 ชุด ดังนี้

ชุดสำหรับไหว้เจ้าที่

จะไหว้ในตอนเช้า มีอาหารคาวหวานขนมกุยช่าย ส่วนขนมไหว้พิเศษที่ต้องมีซึ่งเป็นประเพณีของสารทจีนคือขนมเทียน ขนมเข่ง ซึ่งต้องแต้มจุดสีแดงไว้ตรงกลาง เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อที่ว่าสีแดงเป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล นอกจากนั้นก็มีผลไม้ น้ำชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงินกระดาษทอง

ชุดสำหรับไหว้บรรพบุรุษ

คล้ายของไหว้เจ้าที่พร้อมด้วยกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ ตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกงหรือขนมน้ำใส ๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชาจัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ ขาดไม่ได้ก็คือขนมเทียน ขนมเข่ง ผลไม้และกระดาษเงินกระดาษทอง

ชุดสำหรับไหว้สัมภเวสี

วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ เรียกว่า สัมภเวสี หรือ ไป๊ฮ๊อเฮียตี๋ แปลว่า ไหว้พี่น้องที่ดี เป็นการสะท้อนความสุภาพและให้เกียรติของคนจีน เรียกผีไม่มีญาติว่าพี่น้องที่ดีของเรา โดยการไหว้จะไหว้นอกบ้านของไหว้จะมีทั้งของคาวหวานและผลไม้ตามต้องการและที่พิเศษคือมีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่ เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทองจัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้

ขนมที่ใช้ไหว้ในเทศกาลสารทจีน
     สมัยโบราณใช้ 5 อย่าง เรียกว่า โหงวเปี้ย หรือเรียกชื่อเป็นชุดว่า ปัง เปี้ย หมี่ มั่ว กี
          1. ปัง คือ ขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำมาจากน้ำตาล
          2. เปี้ย คือ ขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่
          3. หมี่ คือ ขนมหมี่เท้า ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าข้างในไส้เต้าซา
          4. มั่ว คือ ขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดงตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง
          5. กี คือ ขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาวเวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ
     แต่ชาวไทยเชื้อสายจีนใช้ขนมเทียน ขนมเข่งในการไหว้ โดยหลักของที่ไหว้ก็จะมีของคาว 3 หรือ 5 อย่าง และของหวาน 3 อย่าง เวลาเลือกของไหว้ อาจเลือกของคาว 3 อย่างแล้วผสมกับขนมให้เป็น 5 อย่าง เช่นเดียวกับเวลาเลือกขนม ก็อาจจะเลือกขนม 3 อย่างผสมกับผลไม้ให้กลายเป็น 5 อย่างก็ได้

ของไหว้วันสารทจีน ที่เป็นอาหารคาว
เป็ด
ไก่
ปลา
หมูสามชั้น
เกี๊ยวกุ้ง
หมายถึง
หมายถึง
หมายถึง
หมายถึง
หมายถึง
ความบริสุทธิ์
การงานก้าวหน้า
มีอันจะกินไม่หมดสิ้น
ความอุดมสมบูรณ์
ห่อโชคลาภ

ของไหว้วันสารทจีน ที่เป็นขนม
ขนมเข่ง และขนมเทียน
ขนมถ้วยฟู
ขนมเปี๊ยะ
ขนมปุยฝ้าย
ถั่วตัด
หมายถึง
หมายถึง
หมายถึง
หมายถึง
หมายถึง
ความราบรื่น หวานชื่น
เพิ่มพูน รุ่งเรือง
ครอบครัวสามัคคี
เงินทองเพิ่มพูน
กินอยู่อุดมสมบูรณ์

ของไหว้วันสารทจีน ที่เป็นผลไม้
ส้ม
กล้วย
แอปเปิ้ล
องุ่น
สาลี่
หมายถึง
หมายถึง
หมายถึง
หมายถึง
หมายถึง
ความโชคดี
ลูกหลานเต็มบ้าน
ความสงบสุขในครอบครัว
อายุยืน เจริญ งอกงาม
ความสำเร็จ

ป้ายชื่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

ป้ายชื่อขนาดเล็กทำด้วยไม้กว้างประมาณ 10-20 ซม. สูงประมาณ 2 เท่าของความกว้างและบนแผ่นป้ายไม้นั้นจะเขียนชื่อของผู้ล่วงลับ ชาวจีนเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แทนบรรพชนเก็บไว้บูชาเมื่อถึงเทศกาลวันไหว้บรรพบุรุษลูกหลานในครอบครัวก็จะทำพิธีเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ โดยจุดธูปเทียนอัญเชิญวิญญาณเพื่อให้มารับเครื่องบวงสรวงของลูกหลาน ครอบครัวที่มีฐานะดีก็จะนำป้ายชื่อไปทำพิธีที่วัดที่มีชื่อเสียงเป็นพิเศษเพื่อเป็นการระลึกถึงผู้ล่วงลับ ส่วนครอบครัวที่มีฐานะธรรมดา จะใช้วิธีตั้งโต๊ะเครื่องบูชาเล็กๆในบ้านหันหน้าไปทางทิศเหนือ โดยจะนำป้ายบรรพบุรุษมาตั้งบนโต๊ะด้วย

ชาวจีนให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดลำดับอาวุโสมาก ดังนั้นป้ายชื่อเหล่านี้จะถูกจัดไว้อย่างเป็นระเบียบตามอาวุโสของผู้ล่วงลับเพื่อแสดงถึงความเคารพ โดยป้ายชื่อของฝ่ายชายจะมีความสำคัญมากกว่าฝ่ายหญิง และการนำป้ายชื่อของต้นตระกูลออกมาตั้งให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนที่บ้านได้เห็นนั้นถือเป็นความภูมิใจในบรรพบุรุษของชาวจีน

ในส่วนของผู้หญิงนั้นส่วนใหญ่จะไม่ค่อยนำป้ายชื่อออกมาวางรวมกับบรรพบุรุษ จะนำขึ้นมารวมได้ใน 3 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 หญิงที่แต่งงานแล้วเมื่อเสียชีวิตลงป้ายชื่อของเธอจะต้องตั้งต่อจากสามี หากสามีเสียชีวิตก่อนแล้ว แต่ถ้าผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานแล้วเสียชีวิตลงป้ายชื่อไม่สามารถนำไปวางร่วมกับชื่อบรรพบุรุษของครอบครัวตนได้

กรณีที่ 2 หากมีการหมั้นหมายระหว่างหญิงชายเกิดขึ้นแล้วฝ่ายหญิงเสียชีวิตก่อนที่จะแต่ง และฝ่ายชายต้องการระลึกถึงฝ่ายหญิงก็สามารถตั้งป้ายรวมกับครอบครัวได้ โดยยอมรับหญิงนั้นเป็นภรรยาและฝ่ายชายต้องมีสถานะเป็นพ่อหม้าย แต่ก็สามารถที่จะแต่งงานใหม่กับหญิงอื่นได้

กรณีที่ 3 เป็นกรณีสุดท้าย ป้ายชื่อของฝ่ายหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานนี้สามารถนำไปเก็บไว้ที่วัดที่จัดแบ่งเนื้อที่ไว้สำหรับเก็บป้ายชื่อของผู้เสียชีวิตโดยเฉพาะ ในแต่ละที่ก็ต้องมีการซื้อที่สำหรับเก็บป้ายชื่อด้วยแต่จะแพงมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และชื่อเสียงของวัดที่จะนำไปเก็บ


กาน้ำชา

การดื่มน้ำชาในหมู่ของชนชาติต่างๆมิได้เพิ่งเกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน หากสืบเนื่องตกทอดมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ภาชนะที่ใช้บรรจุชาในรูปแบบต่างๆจึงกลายเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญตามมา เพราะถือว่าเป็นเครื่องแสดงถึงรสนิยมของผู้ดื่มชา มีหลักฐานปรากฏว่าการดื่มชาด้วยการลวกใบชาและดื่มในถ้วยใบเล็กนิยมมากในราชวงศ์หมิงของประเทศจีนกระทั่งเป็นที่แพร่หลายไปยังประเทศใกล้เคียง และต้นกำเนิดของการปั้นกาน้ำชาที่ดีที่สุดอยู่ในแถบ Yíxìng 宜 兴 มณฑลเจียงซู ในภาคตะวันออกของประเทศจีนอยู่ห่างจากเซี่ยงไฮ้ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 190 กิโลเมตร ปั้นอี๋ซิงเป็นปั้นชาจีนที่นิยมสะสมกันทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ดังมีคำกล่าวว่าหากแผ่นดินจีนเป็นแดนกำเนิดแห่งชาหอม Yíxìng 宜 兴 คือถิ่นกำเนิดของการปั้นกาน้ำชาดินสีแดง จากความกลมกลืนหลายประการซึ่งผสมผสานระหว่างรสชาติละมุนของใบชาและโครงร่างของดินเผาอย่างดี ทำให้ดิน Yíxìng 宜 兴 ใช้ทำกาน้ำชาได้ดีที่สุดในโลก เพราะมีลักษณะพิเศษมากคือเป็นดินทรายเนื้อละเอียดและมีสีแดงเผาแล้วแข็งกว่าดินที่ใช้ทำหม้อไหและมีแร่ธาตุหลายชนิดที่เหมาะสำหรับการปั้น ซึ่งเป็นลักษณะที่ทำให้ Yíxìng 宜 兴 เป็นย่านอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญและมีบทบาทในสังคมและวัฒนธรรมจีนมากว่า500ปี โดยเป็นที่รู้จักกันทั่วไปไม่เฉพาะในจีนเท่านั้นและความโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของกาน้ำชา Yíxìng 宜 兴 คือการผลิตจะตกแต่งกาน้ำชาด้วยไม้ไผ่เหลาแทนใบมีด ต่อมาจึงพัฒนาเทคนิคการผลิตโดยใช้แป้นหมุน และมักผลิตกาน้ำชาออกมาเป็นทรงลูกท้อเพราะชาวจีนเชื่อว่าลูกท้อเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีและอายุยืน


วันตรุษจีน

ที่มาของ วันตรุษจีน

เกิดจากการจัดขึ้นเพื่อตั้งใจที่จะฉลองฤดูใบไม้ผลิเนื่องจากช่วงก่อนเทศกาลตรุษจีนนั้น ประเทศจีนปกคลุมไปด้วยหิมะไม่สามารถทำการเกษตรได้เมื่อเข้าถึงฤดูใบไม้ผลิจึงจะสามารถเพาะปลูกพืชผักได้ตามปกติ ชาวจีนจึงกำหนดให้วันแรกของฤดูใบไม้ผลิในแต่ละปีเป็นวันสำคัญที่เรียกว่า "วันตรุษจีน" ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆนั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า



อาหารมงคลรับตรุษจีนมีความต่างกัน
เกี๊ยว หมายถึง ความมั่งคั่ง
ปอเปี๊ยะ หมายถึง ความร่ำรวย
เค้กข้าว หมายถึง หน้าที่การงาน
บัวลอย หมายถึง ครอบครัวอบอุ่น
ก๋วยเตี๋ยวเส้นยาว หมายถึง ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว
ผลไม้มงคล หมายถึง ความสมบูรณ์และความมั่งคั่ง
เม็ดบัว หมายถึง การมีลูกหลานที่เป็นชาย
เกาลัด หมายถึง มีความหมายถึง เงิน
สาหร่ายดำ หมายถึง ความร่ำรวย (คำของมันออกเสียงพ้อง)
หน่อไม้ หมายถึง คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข (คำของมันออกเสียงพ้อง)
ปลาทั้งตัว หมายถึง เป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกันและความอุดมสมบรูณ์
ไก่ หมายถึง ความเจริญก้าวหน้า ซึ่งต้องเป็นไก่ต้มทั้งตัวครบชิ้นส่วน เพื่อแสดงถึงความสมบูรณ์
เต้าหู้หมักทำจากถั่วแห้ง หมายถึง เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุข (คำของมันออกเสียงพ้อง)

(เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่งเป็นสีแห่งโชคร้าย สำหรับปีใหม่และหมายถึงการไว้ทุกข์)

ทางตอนใต้ของจีนอาหารที่นิยมทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ส่วนทางเหนือได้แก่ หมั่นโถและติ่มซำ

เสื้อผ้าวันตรุษจีน

การใส่เสื้อผ้าสีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคล เป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์

อั่งเปา

สัญลักษณ์ที่ทุกคนทราบดีในวันตรุษจีนคือ อั่งเปาสีแดง โดยมีธรรมเนียมคือ ผู้ใหญ่ที่ผ่านการแต่งงานมาและทำงานมีรายได้แล้ว จะมอบซองสีแดง(ที่มีเงินจำนวนหนึ่งข้างใน) ให้กับเด็กๆที่มีอายุต่ำกว่า หรือยังไม่ได้ทำงาน พร้อมกล่าวสวัสดีปีใหม่ ซึ่งสีแดงของอั่งเปานั้นมีความหมายถึงโชคดี และเงินที่ใส่ในซองอั่งเปานั้นมักจะมีจำนวนเป็นเลขนำโชคของจีนนั่นคือเลข 8